วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551
ฮาร์ดแวร์ ( Hardware)
ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือหากจะกล่าวง่าย ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้มือจับต้องได้ ศัพท์บัญญัติที่เป็นภาษาไทย คือ กระด้างภัณฑ์ แต่ไม่ได้รับความนิยมในการเรียกขานเท่าใดนัก ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนที่มีความสำคัญ 6 หน่วย ได้แก่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
(1) หน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง ( Input Device)
หน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง ( InputDevice) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่รับโปรแกรม คำสั่ง และข้อมูล เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปดำเนินการ อุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่
- แป้นพิมพ์ ( Keyboard) เป็นอุปกรณ์คล้ายแป้นพิมพ์ดีด สำหรับใช้พิมพ์คำสั่งและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง
หน่วยรับข้อมูลและคำสั่ง ( InputDevice) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่รับโปรแกรม คำสั่ง และข้อมูล เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปดำเนินการ อุปกรณ์ที่สำคัญได้แก่
- แป้นพิมพ์ ( Keyboard) เป็นอุปกรณ์คล้ายแป้นพิมพ์ดีด สำหรับใช้พิมพ์คำสั่งและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง
- เมาส์ ( Mouse ) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กวางบนโต๊ะสำหรับใช้ขยับเลื่อนไปมาเพื่อให้ตัวชี้เมาส์ (Mouse Pointer) ซึ่งมักจะมีลักษณะเป็นหัวลูกศร เพื่อใช้ชี้ตำแหน่งบนจอภาพเลื่อนตามไปในทิศทางที่ต้องการ เป็นเสมือนตัวแทนที่เป็นมือของเราในการทำงานในโปรแกรมบนหน้าจอ
- สแกนเนอร์ ( Scanner ) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านภาพ เพื่อบันทึกลวดลายและสีสันของภาพต้นฉบับ อุปกรณ์ชนิดนี้มีทั้งแบบที่อ่านได้ทั้งภาพสีและภาพขาวดำ นอกจากนั้นยังมีชนิดที่อ่านข้อความได้ด้วย
(2) หน่วยความจำหลัก ( Main Memory )
หน่วยความจำหลัก ( Main Memory ) หมายถึง หน่วยที่บรรจุคำสั่งและข้อมูลสำหรับให้คอมพิวเตอร์ทำงาน หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์มีสองแบบ ประกอบด้วย
1. หน่วยความจำรอม ( Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำชนิดอ่านอย่างเดียว คือ หน่วยความจำที่บันทึกคำสั่งและข้อมูลตายตัวมาจากโรงงานผู้ผลิต โดยสิ่งที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำรอมนี้จะไม่มีวันลบหายไปแม้ไฟฟ้าจะดับ หรือปิดเครื่องก็ตาม
2. หน่วยความจำแรม ( Random Access Memory : RAM ) หรือหน่วยความจำที่บันทึกและอ่านได้ตลอดเวลา และเป็นหน่วยความจำที่ใช้กันทั่วไปในการทำงาน หน่วยความจำแรมไม่อาจบันทึกคำสั่งและข้อมูลได้อย่างถาวร หากปิดสวิตซ์เครื่องหรือไฟฟ้าดับ สิ่งที่บันทึกไว้จะถูกลบหายไปหมด
ตามปกติเราจะวัดขนาดของหน่วยความจำ โดยใช้หน่วยการวัดเป็น ไบต์ ( Byte ) ซึ่งมีความหมายโดยนัยเหมือนกับตัวอักษร เช่น หน่วยความจำขนาด 1,024 ไบต์ หมายถึง ความสามารถในการเก็บตัวอักษรได้ 1,024 ตัว เป็นต้น หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความจุค่อนข้างมาก และนิยมใช้ชื่อหน่วยที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนี้
1 กิโลไบต์ ( Kilobyte หรือ KB) = 1,024 ไบต์
1 เมกะไบต์ ( Megabyte หรือ MB) = 1,024 กิโลไบต์
1 กิกะไบต์ ( Gigabyte หรือ GB) = 1,024 เมกะไบต์
(3)หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )
หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU ) หมายถึงหน่วยที่ใช้ในการควบคุมและประมวลผลข้อมูล บางครั้งก็เรียกว่าตัวประมวลผล ( Processor ) หรือถ้าเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นิยมเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ( Microprocessor ) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่
1. หน่วยควบคุม ( Control Unit ) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์ ทั้งการควบคุมการอ่านคำสั่งและข้อมูลมาบันทึกในหน่วยความจำ ควบคุมการนำคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำมาดำเนินงาน ควบคุมการจัดทำผลลัพธ์
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic and Logical Unit ) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่คำนวณและประมวลผลตามคำสั่งที่กำหนด โดยใช้วงจรคำนวณที่ซับซ้อน
หน่วยความจำหลัก ( Main Memory ) หมายถึง หน่วยที่บรรจุคำสั่งและข้อมูลสำหรับให้คอมพิวเตอร์ทำงาน หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์มีสองแบบ ประกอบด้วย
1. หน่วยความจำรอม ( Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำชนิดอ่านอย่างเดียว คือ หน่วยความจำที่บันทึกคำสั่งและข้อมูลตายตัวมาจากโรงงานผู้ผลิต โดยสิ่งที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำรอมนี้จะไม่มีวันลบหายไปแม้ไฟฟ้าจะดับ หรือปิดเครื่องก็ตาม
2. หน่วยความจำแรม ( Random Access Memory : RAM ) หรือหน่วยความจำที่บันทึกและอ่านได้ตลอดเวลา และเป็นหน่วยความจำที่ใช้กันทั่วไปในการทำงาน หน่วยความจำแรมไม่อาจบันทึกคำสั่งและข้อมูลได้อย่างถาวร หากปิดสวิตซ์เครื่องหรือไฟฟ้าดับ สิ่งที่บันทึกไว้จะถูกลบหายไปหมด
ตามปกติเราจะวัดขนาดของหน่วยความจำ โดยใช้หน่วยการวัดเป็น ไบต์ ( Byte ) ซึ่งมีความหมายโดยนัยเหมือนกับตัวอักษร เช่น หน่วยความจำขนาด 1,024 ไบต์ หมายถึง ความสามารถในการเก็บตัวอักษรได้ 1,024 ตัว เป็นต้น หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความจุค่อนข้างมาก และนิยมใช้ชื่อหน่วยที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังนี้
1 กิโลไบต์ ( Kilobyte หรือ KB) = 1,024 ไบต์
1 เมกะไบต์ ( Megabyte หรือ MB) = 1,024 กิโลไบต์
1 กิกะไบต์ ( Gigabyte หรือ GB) = 1,024 เมกะไบต์
(3)หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU )
หน่วยประมวลผลกลาง ( Central Processing Unit : CPU ) หมายถึงหน่วยที่ใช้ในการควบคุมและประมวลผลข้อมูล บางครั้งก็เรียกว่าตัวประมวลผล ( Processor ) หรือถ้าเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นิยมเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ ( Microprocessor ) โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่
1. หน่วยควบคุม ( Control Unit ) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของฮาร์ดแวร์ ทั้งการควบคุมการอ่านคำสั่งและข้อมูลมาบันทึกในหน่วยความจำ ควบคุมการนำคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำมาดำเนินงาน ควบคุมการจัดทำผลลัพธ์
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ ( Arithmetic and Logical Unit ) คือ หน่วยที่ทำหน้าที่คำนวณและประมวลผลตามคำสั่งที่กำหนด โดยใช้วงจรคำนวณที่ซับซ้อน
(4) หน่วยแสดงผล ( Output Unit )
หน่วยแสดงผล ( Output Unit ) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณหรือการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบหรือนำไปใช้งาน หน่วยแสดงผลที่สำคัญ ได้แก่
- จอภาพ ( Monitor) เป็นหน่วยแสดงผลทางกายภาพของโปรแกรม ที่ใช้กันมากที่สุดในเวลานี้ จอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ มีทั้งชนิดที่แสดงภาพเป็นสีเดียว คือ สีเขียว สีอำพัน หรือสีขาว และชนิดที่แสดงภาพสีได้ ขณะที่จอภาพของคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ วางตัก หรือสมุดบันทึก จะมีลักษณะเป็นจอภาพแบนๆ เพราะใช้เทคโนโลยีผลึกเหลวจึงเรียกกันว่าจอภาพผลึกเหลว ( Liquid Cryptal Display : LCD ) จอภาพชนิดนี้มีทั้งชนิดเป็นภาพสีเดียวและชนิดแสดงภาพสีได้
หน่วยแสดงผล ( Output Unit ) หมายถึง หน่วยที่ทำหน้าที่นำผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณหรือการประมวลผลมาแสดงให้ผู้ใช้ทราบหรือนำไปใช้งาน หน่วยแสดงผลที่สำคัญ ได้แก่
- จอภาพ ( Monitor) เป็นหน่วยแสดงผลทางกายภาพของโปรแกรม ที่ใช้กันมากที่สุดในเวลานี้ จอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีลักษณะเหมือนจอโทรทัศน์ มีทั้งชนิดที่แสดงภาพเป็นสีเดียว คือ สีเขียว สีอำพัน หรือสีขาว และชนิดที่แสดงภาพสีได้ ขณะที่จอภาพของคอมพิวเตอร์ชนิดมือถือ วางตัก หรือสมุดบันทึก จะมีลักษณะเป็นจอภาพแบนๆ เพราะใช้เทคโนโลยีผลึกเหลวจึงเรียกกันว่าจอภาพผลึกเหลว ( Liquid Cryptal Display : LCD ) จอภาพชนิดนี้มีทั้งชนิดเป็นภาพสีเดียวและชนิดแสดงภาพสีได้